การอ่านงบการเงิน ตอนที่ 1

เช่าพื้นที่โฆษณา   เช่าพื้นที่โฆษณา

สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกๆท่าน สำหรับบทความในวันนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปถึงเทคนิคการเลือกหุ้นแบบเน้นคุณค่า ตอนที่ 1 กันครับ ( นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าคืออะไร ) ย้ำก่อนนะครับ บทความในตอนนี้จะอธิบายถึงวิธีการเลือกหุ้นแบบเน้นคุณค่าเท่านั้นนะครับ สำหรับกราฟเทคนิคผมแนะนำว่าอาจจะอ่านเป็นความรู้เพิ่มเติมหรือจะปิดไปเลยก็ได้ครับ ^ ^ สำหรับในตอนที่ 1 นี้เราจะมาดูกันในส่วนแรกสุดของงบการเงินเลยนั่นก็คือ ” งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน “ นั่นเอง เรามาดูกันเลยครับว่าในส่วนนี้นั้นบอกอะไรเราได้บ้าง

เริ่มแรกเมื่อเราเปิดงบการเงินของแต่ละบริษัทขึ้นมา เราก็จะเจอกับงบดุลทันที ซึ่งตรงส่วนนี้จะแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. สินทรัพย์
  2. หนี้สิน
  3. ส่วนของผู้ถือหุ้น

ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆมากมายตามแต่ละบริษัทจะมีสินทรัพย์ , หนี้สิน , และส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นอย่างไร โดยในแต่ละส่วนก็จะมีการเขียนอธิบายรายละเอียดของกิจกรรมการเงินต่างๆรวมทั้งตัวเลขและหมายเหตุ เราจะมาดูส่วนที่สำคัญที่ผมจะมาดูเป็นอันดับแรกกันครับ เริ่มกันที่ส่วนของ

  •    สินทรัพย์ ในส่วนของสินทรัพย์นี้สิ่งที่ผมจะดูเป็นพิเศษเลยก็คือในส่วนของ ” เงินสด ” กับ ” สินทรัพย์หมุนเวียน “ และ ” สินค้าคงเหลือ ” ใน 3 ส่วนนี้ผมจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในส่วนของสินค้าคงเหลือจะสามารถบอกเราได้ถึงความสามารถที่จะจัดส่งสินค้าได้ทันตามคำสั่งของลูกค้า แต่จะต้องมีความสำพันธ์ที่ดีไม่มากจนเกินไปหรือไม่น้อยจนเกินไปเมื่อเทียบกับแต่ละปี ส่วนในอีก 2 หัวข้อที่เหลือเราจะมาดูกันในตอนสรุปท้ายบทความว่าผมใช้มันทำอะไร?
  •    หนี้สิน ในส่วนนี้ผมจะสนใจในส่วนของ ” หนี้สินหมุนเวียน “ กับ ” หนี้สินระยะยาว “ เป็นพิเศษ
  •    ส่วนของผู้ถือหุ้น ในส่วนนี้ผมจะสนใจในส่วนของ ” หุ้นทุนซื้อคืน “ เป็นพิเศษ เพราะในส่วนนี้จะแสดงถึงการที่ผู้บริหารขอซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหาร ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ ” กำไรต่อหุ้น ” นั่นเอง

เมื่อเรารู้ตัวเลขตรงนี้แล้วว่าเป็นอย่างไร…เราก็จะนำค่าต่างๆมาคำนวนดูว่าค่าที่ได้ออกมาเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มต้นจาก

  •    สภาพคล่อง ค่านี้คำนวณได้จากการนำ สินทรัพย์หมุนเวียน มาหารกับ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งค่าที่ได้ออกมาถ้ามากกว่า 2 เท่า แสดงว่าบริษัทนั้นมีสภาพคล่องที่ดี ( สภาพคล่องใช้เพื่อดูว่า เมื่อมีเหตุการที่ทำให้บริษัทเกิดปัญหาหรือว่าขาดทุน บริษัทจะสามารถนำเอาสินทรัพย์ที่ตัวเองมี มาแปลงเป็นเงินสดเพื่อใช้หนี้ได้นั่นเอง )
  •    อัตราส่วนเงินสดต่อหนี้สินระยะยาว วิธีการคิดแบบผมได้มากจากแนวคิดของปีเตอร์ ลินช์ ก็เลยเก็บเอามาเป็นเทคนิคให้คุณผู้อ่านกัน ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องคำนวณออกมาก็ได้เพียงแต่เราแค่ดูเพื่อประเมิณว่า บริษัทมีเงินสดสำรองมากพอที่จะชำระหนี้ระยะยาวของตัวเองได้ดีแค่ไหน ซึ่งถ้าหากว่าบริษัทมี ” เงินสด ” มากกว่า ” หนี้สินระยะยาว ” ก็แสดงว่าบริษัท สามารถนำเงินสดที่มีสภาพคล่องที่ดีที่สุดมาชำระหนี้สินได้นั่นเอง ( วิธีนี้ผมจะไม่ค่อยเทใจให้ในการตัดสินใจเลือกหุ้นนั้นๆซักเท่าไหร่เพราะบางบริษัทอาจจะกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนในบางสิ่งบางอย่างนั่นเอง )
  •    หุ้นทุนซื้อคืน ในส่วนนี้นั้นผมจะชอบมากเลยหากว่ามีบริษัทไหนซื้อหุ้นของตัวเองคืนเพื่อบริหาร เหตุเพราะจะส่งผลต่อ ” อัตราส่วนกำไรต่อหุ้น ” ซึ่งค่านี้จะมีผลอย่างมากต่อราคาของหุ้นนั่นเอง

สรุปมาทั้งหมดแล้วผมจะวิเคราะห์โดยใช้วิธีสั้นๆเหล่านี้เพื่อดูว่ามีบริษัทไหนผ่านเกณฑ์ของงบดุลเบื้องต้นได้บ้าง ซึ่งในส่วนนี้ผมก็ยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าบริษัทนั้น ดีจริงหรือไม่ และที่สำคัญในส่วนของ ” งบดุล ” นั้น ยังมีสูตรหาอัตราส่วนอยู่อีกมากมาย ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจของตัวเองได้เพราะที่ผมบอกมานั้นมันยังเล็กน้อยไปด้วยซ้ำ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกคนที่เลือกแล้วว่าจะเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะนำไปปรับใช้อละพัฒนาปรัชญาการลงทุนของตัวเองขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องเหมือนของผม เพราะแบบของผมก็ใช่ว่าจะดีที่สุด

ก่อนที่จะไปต่อกันที่เนื้อหาตอนต่อไป หากใครอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมีข้อสงสัยสามารถคอมเม้นไว้ได้เลยครับ เพื่อเป็นการประเมิณบทความนี้คุณก็สามารถให้คะแนนกับบทความนี้ได้ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียน และสามารถติดตามผมผ่าน Social Network ได้ที่แถบด้านขวา เพราะผมมีเหตุการณอะไรหรือมีข้อมูลหุ้นตัวไหนดีๆจะได้นำมาแชร์ให้กันครับ

โปรดติดตามตอนต่อไป To Be Continue…

เช่าพื้นที่โฆษณา   เช่าพื้นที่โฆษณา

3 thoughts on “การอ่านงบการเงิน ตอนที่ 1

  1. Pingback: การอ่านงบการเงิน ตอนที่ 2 | Infoknowhow

    • ดูได้จาก
      1. ข่าวของตลาดหลักทรัพย์ที่เขาจะแจ้งไว้ในกรณีที่มีบริษัทไหนต้องการจะซื้อหุ้นคืนหรือขายหุ้นที่ซื้อคืนนั้น
      2. ในส่วนของผู้ถือหุ้น จะมีเขียนระบุเอาไว้ครับ เขียนไว้ตรงตัวเลยครับ
      3. ในช่องของ ” งบการเงิน/ผลประกอบการ ” ของหุ้นตัวนั้นๆให้สังเกตุที่ช่อง ” มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว ” ให้ดูเป็นรายปีไปครับ ถ้ามีค่าลดลงแสดงว่ามีการซื้อคืนนั่นเอง
      ลองดูผลประกอบการของ Susco เป็นตัวอย่างก็ได้ครับ

ใส่ความเห็น